วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

การประชุมหารือเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านแรงงาน
 
เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔ ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤติแรงงานร่วมกับผู้นำแรงงาน นักกฎหมาย ทนายความเครือข่ายด้านแรงงาน และองค์กรพันธมิตร เช่น คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เครือข่ายอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน  โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย ได้จัดประชุมหารือเพื่อเตรียมการขับเคลื่อนการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านแรงงาน ที่ประชุมได้แสดงความเห็นอย่างเข้มข้น สรุปสาระสำคัญบางส่วนเพื่อสื่อสารถึงท่านทั้งหลายเพื่อการมีส่วนร่วม ดังนี้
 
            
  ♦ ในช่วงที่ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายแรงงาน และศาลแรงงานก็มิได้ดำเนินการให้เหมาะสมสอดคล้องกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ เช่น
----ไม่มีการตรวจสอบว่าธุรกิจประสบปัญหาจริงหรือไม่ ขาดทุนจริงหรือไม่ ยังคงไกล่เกลี่ยให้ลูกจ้างหรือผู้นำแรงงานรับเงินตามที่นายจ้างเสนอ--- 
---เจ้าหน้าที่แสดงอาการไม่อยากรับเรื่อง   ไม่อยากให้ร้องเรียนเพราะวิกฤติ หรือไม่ก็แนะให้ไปฟ้องศาลแรงงานจะได้ไม่เสียเวลาเปล่า เพราะถ้านายจ้างแพ้เขาก็อุทธรณ์หรือฟ้องศาลอยู่ดี ทำให้ลูกจ้างสับสน---
---เจ้าหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้ลูกจ้างรับค่าชดเชยต่ำกว่ากฎหมาย  ทำนองแก้ตัวให้นายจ้างว่า ขาดทุนหรือหนี้สินล้นพ้นตัว ดำเนินคดีไปก็ไม่รู้ว่าจะได้อะไร และไม่รู้ว่าเมื่อใดคดีจะเสร็จ---
---ลูกจ้างต้องการเรียกเงินคืนตามกฎหมายแรงงาน แต่พนักงานตรวจแรงงานไม่ดำเนินการให้ลูกจ้างกรอกแบบคำร้องตามที่กฎหมายกำหนด (คร. ๗) จนทำให้การดำเนินคดีเปลี่ยนไปเป็นคดีปกครอง แทนที่จะเป็นคดีแรงงานตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ กำหนด---
การไกล่เกลี่ยของเจ้าหน้าที่ด้านแรงงาน และศาลแรงงาน ลูกจ้างจำนวนไม่น้อยรู้สึกอัดอัด ถูกกดดัน และรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม หรือจำใจต้องรับเงินเพราะเดือดร้อนมากเช่นกัน การไกล่เกลี่ยมักขึ้นอยู่กับว่านายจ้างยินดีจ่ายเงินให้ตามที่นายจ้างพึงพอใจหรือยินยอม หรือเท่าที่นายจ้างอ้างว่ามีให้เท่านี้
ผู้ทำการไกล่เกลี่ยในศาลแรงงาน ยังขาดความเข้าใจต่อแรงงานที่ประสบปัญหา ขาดความเป็นมืออาชีพ และฝ่ายแรงงานไม่มีส่วนร่วมหรือมีแต่น้อยมากๆ การไกล่เกลี่ยจึงเป็นไปในลักษณะให้คดีเสร็จๆไปและเป็นไปในลักษณะคดีแพ่ง ควรปรับเปลี่ยนแนวคิดในการไกล่เกลี่ย เพราะเรื่องนายจ้างลูกจ้างมิใช่เรื่องทางแพ่ง หรือเรื่องระหว่างบุคคล แต่เป็นเรื่องของการผลิต ความมั่นคงของมนุษย์และสังคม เป็นเรื่องมหาชน
ในคดีที่ฟ้องร้องเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายแรงงาน ศาลแรงงาน หรือเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายต้องมีหน้าที่หาข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเพียงพอเพื่อแก้ไขปัญหา หรือวินิจฉัยข้อกฎหมายเพื่อเป็นบรรทัดฐาน มิใช่ไกล่เกลี่ยโดยไม่คำนึงเรื่องข้อเท็จจริง  หรือหากตกลงกันไม่ได้ ก็เป็นหน้าที่ของคู่ความ(นายจ้างลูกจ้าง) นำพยานมาสืบเอง ทำให้ลูกจ้างมีภาระมากและเสียเปรียบในที่สุด
            
ในคดีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) วินิจฉัยว่า นายจ้างกระทำอันไม่เป็นธรรมและสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน พร้อมทั้งจ่ายค่าเสียหายให้ลูกจ้างในระหว่างเลิกจ้างด้วย ในชั้นศาลแรงงานได้เปลี่ยนคำสั่งของครส. เป็นให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายเพียงอย่างเดียว อ้างว่านายจ้างกับลูกจ้างไม่สามารถทำงานด้วยกันได้ แต่มิได้ให้เหตุผลหรือวางหลักเกณฑ์ให้เห็นว่าความขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างถึงขนาดเป็นปฏิปักษ์ หรือร้าวฉานถึงขนาดทำงานร่วมกันไม่ได้ และค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้ก็ไม่ได้สัดส่วนกับความเสียหายที่ลูกจ้างได้รับ
ในคดีที่นายจ้างฟ้องเพิกถอนคำสั่งครส. มักไม่ฟ้องลูกจ้างเข้ามาในคดี แต่ ศาลแรงงานก็มิได้เรียกลูกจ้างผู้มีส่วนได้เสียให้เข้ามาในคดี  ทั้ง ๆ ที่มีคำพิพากษาฎีกา วินิจฉัยไว้แล้วว่าศาลแรงงานต้องเรียกลูกจ้างเข้ามาในคดี  ทำให้ลูกจ้างไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม หรือกว่าจะทราบเรื่องและเข้ามาในคดีก็ล่าช้า ไม่อาจคัดค้านหรือโต้แย้งกระบวนพิจารณาที่ดำเนินไปก่อนหน้าแล้วได้ ทำให้เสียหายแก่คดีของตน 
คดีแรงงานล่าช้ามาก ในศาลแรงงานภาคบางแห่งเลื่อนคดีแต่ละครั้ง ราว ๓ เดือน ในช่วงที่โยกกย้ายผู้พิพากษา กว่าจะมีผู้พิพากษาใหม่มาปฏิบัติหน้าที่ กินเวลาหลายเดือน ผู้พิพากษาที่เหลืออยู่น้อยจึงต้องทำงานหนักมาก หรือไม่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คดีล่าช้า
คดีแรงงานที่ขึ้นสู่ศาลฎีกา ใช้เวลานานถึง ๓ ปี หรือ ๔ ปี น่าจะได้เร่งแก้ไขปัญหา
มีผู้ให้ข้อมูลว่า น่าศึกษาการจัดระบบงานของศาลแรงงานกลางมีนบุรี เพราะน่าจะใกล้เคียงกับระบบไต่สวน ศาลมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริง และคดีเสร็จโดยรวดเร็ว
มีการอ้างหรือใช้ประเด็นทางอาญาเพื่อต่อรองในเรื่องทางแรงงานกับผู้นำแรงงาน ทำให้เป็นภาระแก่ลูกจ้างอย่างมากในการต่อสู้คดี และไม่ได้รับความสะดวกในเรื่องการประกันตัว เช่น นายจ้างเสนอว่า ถ้าไม่ลาออก จะดำเนินคดีอาญา หรือถ้ายอมลาออก จะถอนแจ้งความหรือถอนฟ้องคดีอาญา
        
ที่ประชุมเห็นว่า ควรจะต้องรวบรวมปัญหาทั้งหมด ตีแผ่ให้สังคมรับทราบ ทำความชัดเจนในเรื่องบทบาทของศาลแรงงานหรือกระบวนการยุติธรรมด้านแรงงาน แนวคิดและการจัดระบบการไกล่เกลี่ย การปรับปรุงข้อกำหนดการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานในส่วนที่ยังไม่ดี  เข้าพบเพื่อเสนอความคิดเห็นต่อผู้บริหารหน่วยงานยุติธรรมด้านแรงงาน ในส่วนของเจ้าหน้าที่ที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือมีส่วนได้เสียกับนายจ้างอาจต้องใช้การร้องเรียนการประพฤติมิชอบอย่างจริงจัง รณรงค์ให้ทุกภาคส่วนเห็นคุณค่าของแรงงาน ส่งเสริมให้ภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม มิใช่เน้นแต่นักกฎหมาย การรู้และเข้าใจกฎหมายแรงงานมิได้หมายความว่าเข้าใจปัญหาแรงงาน   เป็นต้น
หวังว่าทุกภาคส่วนจะได้ร่วมมือกันเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมด้านแรงงาน ในฐานะที่เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างความเป็นธรรมทางด้านแรงงาน และหวังกันว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
ในนามของศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤติแรงงานร่วมกับภาคีพันธมิตร ขอประกาศที่จะร่วมมือกันผลักดัน ขับเคลื่อนเรื่องนี้ ทั้งนี้ เนื่องในวาระวันกรรมกรสากล ๒๕๕๔
 
                                                                                            ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤติแรงงาน

"เบื้องหลังวิกฤติประเทศไทย"

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

สวัสดีพี่น้องแรงงานทุกท่าน

สำหรับคนไกลบ้านที่ไม่สามารถเล่นสงกรานต์ที่เมืองไทยได้ ทำได้ดีที่สุดคือการวิเคราะห์ ขีด เขียน ด้วยความหวังว่า การเป็นอีกหนึ่งเสียงเพื่อนำเสนอบทวิเคราะห์การเมืองไทย และนำเสนอต่อทั้งคนไทยและคนต่างชาติ อาจจะเป็นมีส่วนบ้างในช่วยให้การเปลี่ยนผ่านการเมืองไทยสู่ประชาธิปไตยประชาชนเป็นไปได้โดยไม่รุนแรง และชนชั้นสูงที่ครองอำนาจมาอย่างยาวนาน ยอมลงจากอำนาจแต่โดยดี และประเทศจะได้เดินหน้าไปสู่เส้นทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างแท้จริงเสียที

ชุดนำเสนอ "เบื้องหลังวิกฤติประเทศไทย" นี้เป็นอีกหนึ่งความพยายามที่จะนำเสนอปัญหาเมืองไทยที่ซับซ้อน และวุ่นวายให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งได้พัฒนาปรับปรุง และแปลเป็นภาษาไทยจากภาษาอังกฤษที่นำเสนอครั้งแรกที่ฟินแลนด์เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2554

การนำเสนอชุดนี้อาจจะดูซับซ้อนในบางช่วง แต่เพื่อการนำเสนอภาพองค์รวมของปัญหาเมืองไทยที่สะสมมาอย่างยาวนาน  รวมทั้งผลกระทบจากแผนพัฒนาประเทศตามวิถี "ทุนนิยม" ตามก้นอเมริกา พิ่เบิ้ม นับตั้งแต่ปลายทศวรรษ 2490 เป็นต้นมา โดยไม่ได้ใตร่ตรองให้รอบคอบถึงจุดแข็งและความหลากหลายของประเทศ จนนำพาประเทศไทยตกขบวนการพัฒนามาหลายสิบปี จากการเป็นหนึ่งใน 45 ประเทศร่วมก่อตั้งสหประชาชาติเมื่อปี 2498  มาอยู่ในลำดับประเทศพัฒนาปานกลางในปี 2548 (ลำดับที่ 73) แต่ก็ได้ตกร่วงลงมา 20 ลำดับ มาสู่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในปี 2553 (ลำดับที่ 92) ภายในระยะเวลาเพียง 5 ปี

ยิ่งปล่อยให้ปัญหาการเมืองไทยยืดเยื้อยาวนานมากเท่าไหร การพัฒนาของประเทศก็ยิ่งถดถอย และถอยหลังมากขึ้นเรื่อยๆ และก็จะยากมากขึ้นเรื่อยๆ ที่จะสร้างเสถียรภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศอย่างแท้จริง

สำหรับคนเสื้อแดง พวกเขาไม่ต้องดูดัชนีชี้วัดของสหประชาชาติก็เข้าใจได้ดีถึงความถดถอยของการพัฒนาประเทศ และคุณภาพชีวิตของพวกเขาที่ย่ำแย่ลงทุกวัน จนได้พากันออกมาประท้วงกันต่อเนื่องเป็นแสนเป็นล้านคน -  จนหมดเงิน หมดทอง กันครอบครัวละหลายหม่ืนบาทตลอดสองปีที่ผ่านมา -  ก็เพราะตระหนักได้ดีแห่งการถดถอยของการพัฒนาประเทศ จนยากจะทนอยู่นิ่งเฉย ได้อีกต่อไป

ภาพการนำเสนอ "เบื้องหลังวิกฤติประเทศไทย" ขุดนี้จึงไม่สามารถจะพูดเฉพาะการปะทะทางการเมืองระหว่างประชาชนกับค่ายทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและรัฐบาลรอยัลลิสต์เท่านั้น แต่นำเสนอภาพของวิกฤติต่างๆ ที่เกิดขึ้น และการประท้วงของประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่มีมาอย่างต่อเนื่องหลายสิบปีด้วยเช่นกัน  โดยเฉพาะวิกฤติธรรมชาติ และการต่อสู้ของคนชนบทเพื่อปกป้องทรัพยากรและวิถีชีวิต เพราะพวกเขาเป็นเสียงที่เงียบหายโดยตลอด และต้องต่อสู้กันมาอย่างยาวนานหลายสิบปี โดยที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลส่วนกลางทุกยุค ทุกสมัย ที่มุ่งกาพัฒนาประเทศโดยยึดเอากรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางมานับตั้งแต่ต้นราชวงศ์จักรี โดยเฉพาะนับตั้งแต่นโยบายรวมศูนย์ของรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา

กรุงเทพที่ดูดเงินตราจากทั้งประเทศมากองรวมกันไว้มากมาย จนไม่รู้จะทำอะไร เอางบประมาณ 10,000 ล้านบาทมาละลายเล่นกับการสร้างสกายวอล์ค ที่ไม่มีความจำเป็นแม้แต่น้อย

ในวาระเพื่อการก้าวไปข้างหน้า เราได้เสนอว่า การจะพัฒนาสังคมไปข้างหน้า มุ่งสู่การพัฒนาที่ทัดเทียม แผนการพัฒนาต่อไปนี้ต้องวาง "ชนบท" เป็นหัวใจของการพัฒนา

ถ้าเห็นว่าการนำเสนอชุดนี้มีประโยชน์สำหรับการศึกษา ยินดีให้เผยแพร่และใช้ได้ตามอัธยาศัยค่ะ

จรรยา ยิ้มประเสริฐ


ลิงค์ "เบื้องหลังวิกฤติประเทศไทย"



อ่านต่อ ดาวน์โหลดได้ ที่นี่

ร่าง พรบ.เงินทดแทน

พี่สพรั่ง และทุกท่าน ที่นับถือ

         ร่าง พรบ.เงินทดแทน แบบที่กรรมาธิการได้แก้ไขปรับปรุงแล้ว ก็จริงอยู่ค่ะ แต่ ม.10 ที่ต้องการงบดอกผลของกองทุนเงินทดแทน มาไว้ในกองทุนความปลอดภัย และในสถาบันฯ ก็ยังไม่สามารถแก้ไขได้ เราเป็นเพียงกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ที่เสนอไก้ไขมากไป เขาก็จะบอกว่า สภาฯรับหลักการร่างนี้มาแล้ว จะแก้ไขเกินกสว่าหลักการตามร่างรัฐบาลไม่ได้ และร่างรัฐบาลแบบเดียวเท่านั้น ไม่มีร่างฉบับแรงงาน จากเวทีเสวนาวันที่ 8 เมย.54 มีข้อสรุปดังนี้ว่า ถ้าไม่เข้าสภาวาระ 2-3 ก็ไม่เป็นไร เพราะยังมีหลายมาตราที่ยังไม่สบายใจ เช่น คณะกรรมการแพทย์ การประเมินการสูญเสีย
         ถึงแม้จะมีสวัสดิการค่าทดแทนเพิ่มขึ้น จาก60% เป็น 80% แต่เงื่อนไข วิการหลักเกณฑ์ที่ประกันสังคมกำหนด ก็ยังเป้นปัญหาการเข้าถึงสิทธิตามกฎฆมายอยู่ดีและคงจะยิ่งยากมากขึ้นกว่าเดิม

สมัยหน้าเราผลักดันใหม่ในร่างผู้ใช้แรงงานค่ะ จะได้แก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นประโยชน์มากกว่านี้  แต่ถ้าเข้าสภาทันสมบุญก็จะต้องเสนอการแปรญัติที่ได้สงวนไว้ แต่ก็มี%น้อยมากที่สภาฯจะยกมือให้กับกรรมาธิการเสียงข้างน้อยโดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกัยตัวเงิน  นอกจากมีปาฎิหารเท่านั้น  ถ้าสภาผ่านร่าง ก็จะต้องผลักดันให้ฝ่ายเรา  เข้าไปเป็นกรรมาธิการในวุฒสภาต่อไป  แต่คิดว่าคงเข้าไม่ทันค่ะ
ขอขอบคุณมากค่ะ
สมบุญ สีคำดอกแค

ข่าว Thai PBS เวที่ 4 เมษายน 2554

เรียน  พี่น้องแรงงานทุกท่าน

           : ข่าว Thai PBS เวที่ 4 เมษายน 2554
(เครือข่ายแรงงานเรียกร้องแก้ไขพระราชบัญเงินทดแทน พ.ศ.2537) เพื่อให้ลูกจ้าง-พนักงานเข้าถึงสิทธิเพิ่มมากขึ้น หลังจากบังคับใช้มากว่า 16 ปี :

คลิกชมภาพข่าวได้ที่นี่ !!!


 http://www.thaipbs.or.th/clip/index.asp?content_id=300466&content_category_id=688